ยางพาราต้นแรกของประเทศไทย ซึ่งพระยารัษฎานุประดิษฐ์ อดีตเจ้าเมืองตรัง ผู้วิสัยทัศน์กว้างไกล นำเมล็ดพันธุ์มาจากมาลายู หว่านไว้หน้าบ้านพัก หลังจากนั้น 50 ปี ยางพาราได้ขยายพันธุ์ไปทั่วจังหวัดตรัง ทั่วภาคใต้ และทั่วประเทศ 100 ปีต่อมา ปัจจุบันเป็นพืชเศรษฐกิจ สร้างรายได้หลักของเกษตรกร อันดับ 1-2 ของประเทศตลอดมา
ยางพาราต้นแรกของประเทศไทย ปัจจุบันมีรอบลำต้นใหญ่ประมาณ 2-3 คนโอบ มีความสูงประมาณ 25 เมตร ยืนตระหง่านอยู่ริมถนนตรัง-กันตัง เขตเทศบาลเมืองกันตัง อ.กันตัง จ.ตรัง เป็นต้นยางพารากลุ่มแรก หรือต้นแรกที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ อดีตเจ้าเมืองตรัง นำเมล็ดยางพารามาจากประเทศมาลายู โดยหลังจากได้หว่านเมล็ดลงบริเวณหน้าบ้านแล้ว จากนั้นเหลือเมล็ดยางพาราอีก จึงได้นำไปหว่านบริเวณสวนหน้าบ้าน และจากต้นยางพาราต้นแรกที่พระยารัษฎานุประดิษฐ์ นำมาปลูกที่หน้าบ้านพัก ต่อมาเพียงไม่กี่ปี จากต้นยางต้นแรก ก็มีต้นยางพาราพื้นเมืองทั่วทั้งจังหวัดตรัง ก่อนที่จะมีการปรับปรุงพันธุ์เป็นยางพันธุ์ไปทั่วประเทศ และจากต้นยางต้นแรก ปัจจุบันถือว่ายางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ
พระยารัษฎานุประดิษฐ์ ท่านเดินทางติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศเยอะ เช่น อินโดนีเซีย มาลายู ซึ่ง มาลายูเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ อังกฤษเขาก็สนับสนุนในการปลูกยาง ปรากฏว่าพระยารัษฎาฯ ท่านได้นำเอาเมล็ดยางพาราจากมาลายูซึ่งในขณะนั้นเขาหวงห้าม แต่คงไม่เข้มงวดมาก ท่านก็ได้แอบลักลอบเอามา จากนั้นท่านจึงได้นำเม็ดยางพารามาที่เมืองตรังซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ที่กันตัง ครั้งแรกนำมาแล้วได้แจกจ่ายให้คนปลูกแต่ไม่สำเร็จ คนไม่ได้ปลูกแต่เอาเมล็ดยางพาราไปต้มกิน จึงได้เอามาครั้งที่ 2 มอบให้คุณพระสถนไปปลูก ท่านก็นำไปปลูกที่บ้านของท่าน จึงได้เหลือเป็นตัวอย่างจนถึงปัจจุบันนี้
กระเบื้องยางพารา, สนามฟุตซอลยางพารา, แผ่นยางพาราปูพื้น, พื้นสนามเด็กเล่น, ลานกีฬาเอนกประสงค์ : ปริมาณยางในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนยังคงเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคายางผันผวนต่อเนื่อง ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงพยายามร่วมมือกันหาแนวทางแก้ไข เช่นเดียวกับ Floorament ที่ได้เดินหน้าวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากยางพาราให้มีความหลากหลาย กระตุ้นให้เกิดการใช้ยางเพิ่มมากขึ้น
Floorament เป็นผู้นำด้านกระเบื้องยางพาราธรรมชาติ งานออกแบบติดตั้ง พื้นสนามกีฬา สนามเด็กเล่น อเนกประสงค์ ห้องฟิตเนส ทั้งสนามหญ้าเทียม, พื้นยางสังเคราะห์โพลียูรีเทน, พื้นยางพารา, พื้น PVC, และพื้น Acrylic อาทิ สนามฟุตบอล แบดมินตัน บาสเกตบอล ฟุตซอล เทนนิส วอลเลย์บอล ตระกร้อ รวมทั้งงานพื้นผิวเพื่อความปลอดภัย งานพื้นโรงงานอุตสาหกรรม งานพื้นโรงแรม และที่พักระดับสูง
ที่มาข้อมูล :
1. รัฐบาลมีนโยบายผลักดันให้ส่วนราชการเพิ่มปริมาณการใช้ยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้ในส่วนราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ยางชนิดใหม่ๆ เพื่อลดการพึ่งพาตลาด ต่างประเทศ และเป็นการเพิ่มมูลค่ายางพาราของประเทศโดยมีข้อสั่งการในคราวประชุม ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รวบรวมความ ต้องการของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจต่างๆ ที่ใช้ยางธรรมชาติไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ หรือใช้เป็นส่วนผสมต่างๆเช่น ถนน พื้นลู่วิ่ง พื้นช่องทางจักรยาน พื้นสนามฟุตซอลเป็นต้น
2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) กําหนดนําร่องการนํา ยางพาราในสต๊อกของรัฐบาลมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยาง ได้แก่ ยางปูพื้นลู่-ลานกรีฑา พื้นสนามฟุตซอล พื้นสนามเด็กเล่น และพื้นคอกปศุสัตว์เพื่อนําไปใช้ในหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งกําหนดใช้ยางพาราเป็นส่วนผสมในการก่อสร้างพื้นสนามฟุตซอลประจําเทศบาล จํานวน ๑๒๐ สนาม และก่อสร้างพื้นสนามเด็กเล่นประจําเทศบาลจํานวน 200 สนาม โดยเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับมาตรฐาน มอก.2378-2551 รับรองจากสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยบล็อกยางปูพื้นทั้งหมดจะเป็นบล็อกยางปูพื้นสําหรับใช้ภายนอกอาคาร
3. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกําหนดแนวทางการจัดสรรบล็อกยางปูพื้น สําหรับเทศบาลใน 57 จังหวัด มีดังนี้ สนามเด็กเล่นประจําเทศบาล กําหนดจัดสรรเฉลี่ยให้จังหวัดละ 3 - 4 แห่ง โดยเศษที่เหลือ เกลี่ยให้จังหวัดขนาดใหญ่ที่มีสัดส่วนเทศบาลจํานวนมากก่อน และ สนามฟุตซอลประจําเทศบาล กําหนดจัดสรรเฉลี่ยให้จังหวัดละ 2 แห่ง โดย เศษที่เหลือ เกลี่ยให้จังหวัดขนาดใหญ่ที่มีสัดส่วนเทศบาลจํานวนมากก่อน
|